อาหรับในสมัยญาฮิลียะฮ์
โคแวน (Cowan, 1976 : 144) ได้ให้ความหมายของคำ “ ญาฮิลียะฮ ” ในพจนานุกรมอาหรับ – อังกฤษว่า หมายถึง “Pre Islamic Paganism, Pre Islamic Time” ( สมัยป่าเถื่อนก่อนอิสลาม , สมัยก่อนอิสลาม ) ฮิตติ (Hitti, 1989 : 87) ผู้เขียนหนังสือ History of the Arabs ได้กล่าวถึงคำ “ ญาฮิลียะฮ ” ว่ามิได้หมายถึงความไม่รู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ แต่ ญาฮิลียะฮนั้นหมายถึง ความไม่รู้ในเรื่องศาสนา ที่ฮิตติเขียนไว้เช่นนี้เพราะเขาถือว่าชาวอาหรับก่อนอิสลามนั้นมีอารยธรรม ที่รุ่งเรือง การให้คำจำกัดความดังกล่าวของฮิตติ ยะหยาและหะลีมี (Yahaya and Halimi, 1994 : 29) ได้วิจารณ์ว่าฮิตติได้บิดเบือนความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ ญาฮิลียะฮ ” เพราะฮิตติได้รวมสมัยราชวงศ์ซาบาเข้าเป็นสมัยญาฮิลียะฮ ทั้งๆ ที่สมัยนั้นมีท่านศาสดาซุไลมาน
ยะหยาและหะลีมี (Yahaya and Halimi, 1994–31–32) ได้สรุปลักษณะของสมัยญาฮิลียะฮ ดังต่อไปนี้
1. ไม่มีศาสดาและคำภีร์ชี้นำ2. ไม่มีอารยธรรม3. เป็นสังคมที่ไร้จริยธรรม4. เป็นสังคมที่ไม่รู้หนังสือ
จากลักษณะข้างต้น ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าสมัยราชวงศ์ซาบานั้นเป็นสมัยญาฮิลียะฮ เพราะในสมัยนั้นอัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งนบีซุไลมาน
ให้เชิญชวนผู้คนไปสู่ศาสนาที่เที่ยงแท้ สมัยที่ถือว่าเป็นสมัยญาฮิลียะฮ
คือ สมัยหลังจากราชวงศ์ซาบา เพราะเป็นสมัยที่ชาวอาหรับไม่มีศาสดา
ปราศจากคัมภีร์ที่จะชี้นำไปยังสัจธรรมที่เที่ยงแท้
แม้ในสมัยนี้จะมีคัมภีร์เล่มก่อน ๆ แต่คัมภีร์เหล่านั้นล้วนถูกบิดเบือน
ชาวอาหรับญาฮิลียะฮนั้นนับถือศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายิว ศาสนาคริสต์
ศาสนาซาบาเบียน ศาสนามะญูซี ( ศาสนาโซโรแอสเตอร์ ) และศาสนาอื่น ๆ เช่น
ศาสนาบูชาเจว็ด (Husayn, 1990 : 11-17) โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาบูชาเจว็ดมีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมาก
แม้กระทั่งในวิหารกะอบะฮสถานที่ศักสิทธิ์ของชาวอาหรับยังมีเจว็ดวางอยู่เป็น
จำนวนมาก ในสมัยที่กะอบะฮตกอยู่ในกำมือของอิสลามในปี ฮ . ศ . ที่ 8
ภายในบริเวณกะอบะฮมีเจว็ดวางอยู่ 300 กว่าองค์
เจว็ดที่ได้รับการกราบไหว้และมีชื่อเสียงมากในสมัยญาฮิลียะฮนี้คือ : -
1. อัล - ลาต (al Lat) อยู่ที่ฎออีฟ (Taif)2. อัล อุสสา (al Uzza) ที่นัคละฮ (Nakhlah)3. อัล มะนาต (al Manat) อยู่ระหว่างมักกะฮและมะดีนะฮ4. ฮุบัล (Hubal) ที่เมืองมักกะฮ
ต้นกำเนิดการบูชาเจว็ดของชาวอาหรับ ยะหยาและหะลีมี (Yahaya and Halimi, 1994 : 10-11) ได้กล่าวว่ามีแหล่งที่มาดังต่อไปนี้ :-
(1)
ครั้งหนึ่งเมื่ออุมัร อิบนุ ลุอัยย (Umar Ibnu Luayy) จากเผ่าคุสาอะ
(Khuza ah) ผู้ดูแลวิหารกะอบะฮได้ล้มป่วย
และได้เดินทางไปยังเมืองซีเรียเพื่อรักษาโรค เมื่อถึงที่บัลกอ (Balqa)
เขาก็ได้อาบน้ำ หลังจากนั้นโรคของเขาก็ทุเลาลง
สิ่งนี้ได้ทำให้เขาประหลาดใจมาก
ต่อมาเขาได้เห็นชาวบัลกอกราบไหว้เจว็ดเพื่อขอฝน จากนั้นอุมัร อิบนุ
ลุอัยยจึงขอเจว็ดเหล่านั้นกลับไปยังมักกะฮและได้วางไว้รอบ ๆ กะอบะฮ
ต่อมาเจว็ดเหล่านั้นก็ได้รับการกราบไหว้บูชา
(2)
ชาวอาหรับต้องการทำให้กะอบะฮมีความศักสิทธิ์ หลังจากพิธีหัจญ
พวกเขาเหล่านั้นก็จะนำก้อนหินรอบ ๆ กะอบะฮกลับไปยังถิ่นฐานของตน
ต่อมาก้อนหินเหล่านั้นก็ได้รับการกราบไหว้บูชา
(3)
ชาวอาหรับเป็นพวกที่บูชาดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้า และเชื่อว่าฮะญัร อัล
อัซวัด ( หินดำที่กะอบะฮ ) มาจากฟากฟ้า ดังนั้นพวกเขาจึงบูชาหินดำ
ต่อมาก็บูชาเจว็ดซึ่งส่วนหนึ่งทำมาจากหิน
การศึกษาของชาวอาหรับสมัยญาฮิลียะฮ์
อาหรับสมัยญาฮิลียะฮนี้ไม่มีอารยธรรมเป็นของตนเอง
แม้พวกเขาจะมีความรู้ในทางการค้าบ้าง แต่ก็เป็นความรู้ที่จำกัด
การเผยแพร่ความรู้ในสมัยนี้แทบจะไม่มีเลย
ผู้คนส่วนใหญ่จะไร้การศึกษาและไม่รู้หนังสือ
ผู้ที่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ก็มีจำนวนจำกัด ยะหยาและหะลีมี (Yahaya and
Halimi, 1994 : 34) กล่าวกันว่าผู้ที่มีความรู้ในสมัยนี้มีเพียง 7 คน
หุซายน (Husayn, 1990 : 309)
กล่าวเสริมว่าผู้ที่มีความรู้ในสมัยนี้จะเป็นผู้รู้ในเรื่องกวี
แต่ความรู้ทางกวีของพวกเขามิได้มาจากการค้นคว้าหรือการวิจัย
แต่เป็นความรู้ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
กวีนิพนธ์ในสมัยนี้จะเป็นกวีเชิงสร้างสรรค์มากกว่าจะเป็นกวีเชิงวิเคราะห์
เหมือนในสมัยของอิสลาม
การเผยแพร่ความรู้ในสมัยนี้จะเป็นการเผยแพร่โดยการใช้วาจา
เพราะชาวอาหรับส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่รู้หนังสือดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ดังนั้นการเรียนรู้ในสมัยนี้จึงเป็นแบบท่องจำ
หากใครไม่ท่องจำความรู้ที่เขามีอยู่ก็จะเลือนหายไป
ชาวอาหรับในสมัยนี้จะเน้นหนักในด้านการค้ามากกว่าการศึกษา
สถาบันการศึกษาที่มีอยู่คือกุตตาบ (Kuttab)
ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่จัดขึ้นที่บ้านของผู้สอนเองเป็นส่วนใหญ่
ในสมัยนี้กุตตาบมีจำนวนน้อยมาก และกุตตาบแห่งแรกในสมัยนี้ คือ “ วาดี อัล กุรรอ ” (Wadi al Qurra) (Husayn, 1990 : 318)
กุตตาบเป็นสถานที่ที่ชาวอาหรับศึกษาเล่าเรียนเกี่ยวกับศิลปะการอ่านและการ
เขียน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นที่กล่าวกันว่า อบู ซุฟยาน อิบนุ
มุอาวิยะฮ (Abu Sufyan Ibnu Mu awiyah) และอบู กอยซ อิบนุ อับดุลมะนาฟ (Abu
Qais Ibnu Abd al Manaf) เป็นชาวอาหรับคนแรก ๆ ที่ศึกษาในสถาบันแห่งนี้
เขาทั้งสองได้เล่าเรียนกับฮิเราะฮผู้ซึ่งยึดอาชีพเป็นครูใหญ่สมัยนั้น
(Husayn, 1990, 309)
การเรียนการอ่านและการเขียนในกุตตาบนี้จะเป็นการเรียนภาษาอาหรับซึ่งเป็น
ภาษาของพวกเขาเอง
ความ
จริงในสมัยญาฮิลียะฮนั้นชาวอาหรับไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษามากนัก
แต่ตรงกันข้ามกับสมัยของอิสลามที่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
แม้กระทั่งวัหยูที่เป็นอายะฮแรกที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานลงมาก็เป็นอายะฮที่เกี่ยวกับการศึกษา การที่พระองค์อัลลอฮ์ทรง
ประทานอายะฮที่เริ่มด้วยการกำชับให้อ่านด้วยพระนามของพระองค์
ย่อมแสดงให้เห็นว่าการอ่านนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น
และการอ่านถือเป็นวิธีหนึ่งที่จะได้มาซึ่งความรู้
0 ความคิดเห็นของท่าน:
แสดงความคิดเห็น