จอมจักรพรรดิ โอมาร์ มุกตาร์ "Lion of the Desert"[Arab]
ประเภท : Drama/RomanceWar
นักแสดง : - Anthony Quinn
- Oliver Reed
- Rod Steiger
- Raf Vallone
- Irene Papas
- John Gielgud
- Oliver Reed
- Rod Steiger
- Raf Vallone
- Irene Papas
- John Gielgud
กำกับ : Moustapha Akkad
ออกฉาย : November 14, 2009
ภาษา : Arab
ซับไตเติล : -
ซับไตเติล : -
ในปี 1929 จอมเผด็จการ มุสโสลินี ปกครองประเทศ และ.ต้องทำสงครามกับกองโจร เบดูอิน เป็นเวลา 20 ปี โดยกองโจรเบดูอิน มี โอมาร์มุกตาร์ เป็นผู้นำที่พยายามต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ ทั้งๆเที่รู้ว่าเป็นสงครามที่ไม่มีโอกาสชนะ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างพิถีพิถันกับฉาก การแต่งกาย และอาวุธยุทโธปกรณ์ ในเรื่องที่ดูน่าจะใกล้เคียงกับในประวัติศาสตร์จริงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะรถถังและยานยนต์ต่างๆ ของกองทัพอิตาลีนั้น ไม่มีการนำของสมัยใหม่มา "ติ๊งต่าง" อย่างในหนังสงครามโลกรุ่นเก่าของฮอลลีวู้ด โดยเฉพาะเจ้ารถถังคันกะเปี๊ยกติดปืนกลของกองทัพอิตาลี ที่อาจดูเหมือนจะกิ๊กก๊อกเมื่อเทียบกับรถถังสมัยใหม่ที่เราคุ้นเคย หรือแม้กระทั่งรถถังร่วมสมัยของชาติอื่นก็ตาม แต่สำหรับนักรบเบดูอินของ โอมาร์ มุกตาร์ แล้ว การยิงสู้กับมันซึ่งๆ หน้าก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตายเลย
ในตอนท้ายเรื่องได้กล่าวถึง นายพลกราเซียนี แต่เพียงว่าหลังจากมุสโสลินีถูกโค่นล้ม เขาได้ถูกจับขังคุกและตายในปี 1955 (พ.ศ.2498) เท่าที่ผมพอจะทราบ ก่อนจะถึงเวลานั้นเขายังได้มีบทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ กราเซียนี่ ซึ่งขณะนั้นเป็นจอมพลแล้ว ได้พยายามนำกองทัพอิตาลีรุกรานอิยิปต์ซึ่งอังกฤษปกครองอยู่ แต่ก็แพ้อย่างไม่เป็นท่าจนเกือบจะเสียลิเบียด้วยซ้ำ เป็นเหตุให้ ฮิตเลอร์ ต้องส่ง รอมเมล มากู้หน้ามุสโสลินี ทำให้ รอมเมล แจ้งเกิดจนได้ทั้งยศจอมพลและสมญานาม "จิ้งจอกทะเลทราย" ไปครอง ขณะที่ "จอมพลกราเซียนี" และกองทัพอิตาลีกลับกลายเป็นเพียงลูกไล่ของกองทัพอาฟริกาเยอรมันไป ส่วนชะตากรรมของกราเซียนีหลังสงครามโลกนั้น น่าจะถือว่าโชคร้ายน้อยกว่าบรรดาสมุนฮิตเลอร์อยู่สักหน่อย ตรงที่ไม่มีการตั้งศาลอาชญากรสงครามในอิตาลีเหมือนในเยอรมัน ไม่เช่นนั้นกราเซียนีต้องติดอันดับอาชญากรสงครามด้วยแน่ๆ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างพิถีพิถันกับฉาก การแต่งกาย และอาวุธยุทโธปกรณ์ ในเรื่องที่ดูน่าจะใกล้เคียงกับในประวัติศาสตร์จริงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะรถถังและยานยนต์ต่างๆ ของกองทัพอิตาลีนั้น ไม่มีการนำของสมัยใหม่มา "ติ๊งต่าง" อย่างในหนังสงครามโลกรุ่นเก่าของฮอลลีวู้ด โดยเฉพาะเจ้ารถถังคันกะเปี๊ยกติดปืนกลของกองทัพอิตาลี ที่อาจดูเหมือนจะกิ๊กก๊อกเมื่อเทียบกับรถถังสมัยใหม่ที่เราคุ้นเคย หรือแม้กระทั่งรถถังร่วมสมัยของชาติอื่นก็ตาม แต่สำหรับนักรบเบดูอินของ โอมาร์ มุกตาร์ แล้ว การยิงสู้กับมันซึ่งๆ หน้าก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตายเลย
ในตอนท้ายเรื่องได้กล่าวถึง นายพลกราเซียนี แต่เพียงว่าหลังจากมุสโสลินีถูกโค่นล้ม เขาได้ถูกจับขังคุกและตายในปี 1955 (พ.ศ.2498) เท่าที่ผมพอจะทราบ ก่อนจะถึงเวลานั้นเขายังได้มีบทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ กราเซียนี่ ซึ่งขณะนั้นเป็นจอมพลแล้ว ได้พยายามนำกองทัพอิตาลีรุกรานอิยิปต์ซึ่งอังกฤษปกครองอยู่ แต่ก็แพ้อย่างไม่เป็นท่าจนเกือบจะเสียลิเบียด้วยซ้ำ เป็นเหตุให้ ฮิตเลอร์ ต้องส่ง รอมเมล มากู้หน้ามุสโสลินี ทำให้ รอมเมล แจ้งเกิดจนได้ทั้งยศจอมพลและสมญานาม "จิ้งจอกทะเลทราย" ไปครอง ขณะที่ "จอมพลกราเซียนี" และกองทัพอิตาลีกลับกลายเป็นเพียงลูกไล่ของกองทัพอาฟริกาเยอรมันไป ส่วนชะตากรรมของกราเซียนีหลังสงครามโลกนั้น น่าจะถือว่าโชคร้ายน้อยกว่าบรรดาสมุนฮิตเลอร์อยู่สักหน่อย ตรงที่ไม่มีการตั้งศาลอาชญากรสงครามในอิตาลีเหมือนในเยอรมัน ไม่เช่นนั้นกราเซียนีต้องติดอันดับอาชญากรสงครามด้วยแน่ๆ
0 ความคิดเห็นของท่าน:
แสดงความคิดเห็น